ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ

เด็กเอเอฟเอสจากบ้านตาล บนเก้าอี้เลขาธิการอาเซียน

03/03/2015

AFS & I คอลัมน์ใหม่ที่นำเสนอเรื่องราว หรือเปิดเวทีให้นักเรียนเก่าเอเอฟเอสผลัดกันมาแบ่งปันประสบการณ์ทั้งในด้านการทำงาน ครอบครัว โลกทัศน์ การใช้ชีวิต รวมถึงสปิริตเอเอฟเอสที่สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อตัวเองและสังคม

จากการที่เราพบกันเป็นครั้งแรกในเดือนสิงหาคม เดือนเกิดของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations: ASEAN) หรือ “อาเซียน” ทางคอลัมน์ “AFS & I” จึงได้พูดคุยกับ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ นักเรียนเก่าเอเอฟเอสรุ่นที่ 6 และคนไทยที่ไปสร้างผลงาน สร้างชื่อเสียงให้ประเทศในตำแหน่ง “เลขาธิการอาเซียน” คนที่ 12ซึ่งเพิ่งหมดวาระไปเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2556 ที่ผ่านมา

มาฟังกันว่า อะไรที่ทำให้เด็กชายชาวบ้านธรรมดาๆจากโรงเรียนวัดบ้านตาล จากชายขอบอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างเขา สามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จทั้งในด้านการศึกษาโดยลัดฟ้าไปคว้าปริญญาโทและปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด จนต่อมาก็ประสบความสำเร็จด้านวิชาชีพและหน้าที่การงานในฐานะอาจารย์ที่ผันตัวเองไปลงรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึง 7 สมัย ได้นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ก่อนที่จะได้รับความไว้วางใจจากชาติสมาชิกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน ในช่วงปี พ.ศ. 2551-2555

และล่าสุด เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานี้ ดร สุรินทร์ พิศสุวรรณ ก็ได้รับเกียรติระดับโลกอีกครั้ง เมื่อสมาคมหน่วยสันติภาพอเมริกันแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้เชิญเข้ารับรางวัล สุดยอดผู้นำแห่งปี Harris Wofford Global Citizen Award ซึ่งมอบเป็นเกียรติแก่ผู้นำระดับโลกที่เติบโตมาในประเทศที่มีหน่วยอาสาสมัครปฏิบัติงานอยู่และได้รับแรงบันดาลใจให้ไปทำประโยชน์ในระดับประเทศและระดับโลกในด้านศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง

ดร.สุรินทร์ บอกเล่าถึงเส้นทางชีวิตอันน่าตื่นเต้นของเด็กบ้านนอกที่ไม่เคยนึกฝันว่าจะมีโอกาสก้าวมายืนแถวหน้าในระดับนานาชาติ โดยเน้นว่าเป็นความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากพื้นฐานที่ดีหลังจากที่เขาได้รับทุนไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน รุ่นที่ 6 ในโครงการเอเอฟเอส(American Field Service) ไปศึกษาชั้นมัธยมปลายในอเมริกา หนึ่งปีกับประสบการณ์เอเอฟเอสได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กต่างจังหวัดอย่างเขาอย่างมากมายมหาศาล ช่วยพัฒนาศักยภาพด้านภาษา และทักษะทางสังคม ตลอดจนหล่อหลอมแนวคิด ทัศนคติในการดำเนินชีวิต และจิตวิญญาณ

“การได้เข้าร่วมโครงการเอเอฟเอสนั้นเหมือนการเตรียมตัวเพื่อเป็นพลเมืองของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์จริงๆ ผมก็ได้พื้นฐานจากการเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนเอเอฟเอสเป็นเวลา 1 ปี คือในช่วงปี 2510-2511 ที่มลรัฐมินนิโซตา ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งในเรื่องทักษะภาษาอังกฤษ วิธีคิด วิธีวิเคราะห์ วิธีให้เหตุผล ที่สำคัญ คือความเชื่อมั่นในตัวเองและความกล้าที่จะเผชิญกับสิ่งใหม่ๆในชีวิต จากช่วงเวลา 1 ปีที่ไปใช้ชีวิตอยู่ที่นั้น ไปอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์ ไปเรียนรู้การใช้ชีวิตจากครอบครัวของเขา ผมได้เรียนรู้วิธีคิด ค่านิยม และขนบธรรมเนียมของสังคมอเมริกันและครอบครัวอเมริกัน ไปรับเอาสิ่งที่เราคิดว่าจะเป็นประโยชน์ รู้จักที่จะเรียนรู้การอยู่ในบรรยากาศของการแข่งขันซึ่งเพิ่มสูงขึ้นในโลกที่กำลังเล็กลงทุกทีและมีการเชื่อมต่อกันมากขึ้น ความสำเร็จหลายๆด้านของผมทั้งในนามส่วนตัวและประเทศชาติก็ได้พื้นฐานมาจาก 1 ปีของการเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนของเอเอฟเอสนี่แหละ”

“ผมอยากให้น้องๆ ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ รวมถึงพ่อแม่ ครู อาจารย์ ได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะให้ลูกหลาน และลูกศิษย์ มีโอกาสออกไปสัมผัสกับสิ่งใหม่ๆในบริบทของสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างออกไป ได้เรียนรู้ เข้าใจ และเคารพในความแตกต่างนั้น รวมถึงมีขันติธรรมสูงพอที่จะยอมรับว่าความแตกต่างหลากหลายเหล่านี้เป็นสิทธิและธรรมชาติของมนุษย์แต่ละกลุ่มแต่ละคน เราต้องอยู่รวมกันให้ได้ ต้องสร้างความสุข ความสันติ และความปรองดองให้เกิดขึ้น นี่คือสิ่งท้าทายของโลกสมัยใหม่ ของประชาคมในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ซึ่งคนไทยก็จะประสบสิ่งเหล่านี้มากขึ้น เช่น เรื่องของความแตกต่างหลากหลาย สังคมไทยคือสังคมพหุภาค ไม่ใช่สังคมที่เหมือนๆกัน คือมีเชื้อชาติเดียวกัน เพราะเป็นคนไทยเหมือนกัน แต่ภูมิหลังไม่เหมือนกัน มีวัฒนธรรม มีค่านิยม ที่ติดมากับครอบครัวและเผ่าพันธุ์ที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งความแตกต่างหลากหลายนี้ถือเป็นทรัพย์สินของสังคม ไม่ใช่สิ่งที่จะนำไปสู่ความแตกแยก หรือที่เรียกว่า Liability”

“การได้มีโอกาสออกไปเรียนรู้และเข้าใจ ได้เห็นสิ่งที่แตกต่างไปจากเรา บางอย่างดีกว่าเรา บางอย่างด้อยกว่าเรา บางอย่างไม่เหมือนเรา แต่การได้เห็นสิ่งต่างๆเหล่านี้ในขณะที่เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนเอเอฟเอส อายุก็ยังอยู่ในวัยที่จะรับและนำมาเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพของเรา ถือเป็นช่วงวัยที่สำคัญมาก เป็นช่วงวัยที่เป็นผู้ใหญ่พอ มีความสามารถที่จะแยกแยะสิ่งที่ดี สิ่งที่ไม่ดี และมีวุฒิภาวะพอที่จะรักษาความเป็นตัวของตัวเองไว้ให้ได้ แล้วก็เลือกที่จะรับความแตกต่างหลากหลายและกลั่นกรองสิ่งเหล่านั้นออกมาประสานเป็นบุคลิกของตัวเอง ด้วยความเชื่อมั่น ความเป็นตัวของตัวเอง และเคารพในความแตกต่าง ซึ่งผมคิดว่าเป็นสิ่งที่คนไทยในปัจจุบันจำเป็นต้องมี”

“นอกจากนั้นในเรื่องของระเบียบวินัย ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กล้าคิดกล้าทำ มีมุมมองที่แตกต่างไปจากคนอื่น และสามารถที่จะสื่อความคิดของตัวเองได้ดี สามารถที่จะนำเสนอความคิดความอ่านของตัวเองได้ อันนี้แหละครับ ที่จะทำให้เป็นสังคมมีชีวิตชีวา สังคมที่ต้องแลกเปลี่ยนกัน สังคมที่ต้องเคารพซึ่งกันและกัน สังคมที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กัน เคารพในความแตกต่างหลากหลาย ในขณะที่มีจุดยืนในพื้นที่ของตัวเอง แต่ก็เคารพในพื้นที่ของคนอื่น เคารพในสิทธิเสรีภาพของคนอื่น และสามารถทำงานร่วมกับเขาได้ ยอมรับในความหลากหลายแต่ก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ มีจุดประสงค์ร่วมกันในฐานะที่เป็นสังคม ในฐานะที่เป็นประชาคม ในฐานะที่เป็นประเทศชาติ นี่คือสิ่งที่สังคมไทยกำลังต้องการเป็นอย่างมากในขณะนี้”

“และผมได้สิ่งเหล่านี้รวมถึงอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ผมได้ซึมซับมาจากการเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนในโครงการ American Field Service”

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ

เด็กเอเอฟเอสจากบ้านตาล บนเก้าอี้เลขาธิการอาเซียน

03/03/2015

Nice to meet you readers in this new column “AFS & I” – a stage for AFS alumni to share with the world their precious experience in work, family life, visions, and their world-changing AFS spirits.

The month of August is the birth month of the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN), we moved on to the rainy September with Dr Surin Pitsuwan, AFS alumnus of 1967 and a proud Thai citizen who carved his legacy, not on a tree trunk, but on the face of the world’s history from the desk of the 12th ASEAN Secretary General. His service term for ASEAN just ended last year on January 1st, 2013.

Let’s have a read into what kind of sorcery has transformed just an ordinary boy from Ban Tan, a rural town of Nakhon Si Thammarat, into a shining star in both education and work experiences – by receiving his master’s and doctorate degrees from the world’s leading Harvard University, being a successful professor, a member of parliament for seven elections, a deputy foreign affairs minister, minister, and then secretary-general of ASEAN during 2008-2012.

And that was still not the end of his career, Dr Surin Pitsuwan again was presented in June this year the Harris Wofford Global Citizen Award, the prized honour given only to outstanding global leader who grew up and continues to live in a country where Peace Corps volunteers served and whose life was influenced by the Peace Corps by benefiting the country in terms of human dignity, and development of economy, society, and politics.

Dr Surin recounted his life story on a winding path as a young boy who had never thought of himself outstanding in the national level. His success was not at all a magic, citing his strong and good foundation acquired from his time in AFS (American Field Service) mission. As a member of sixth class of AFS to continue his highschool education in the United States of America, he said, one year of experience has helped forming a great deal of inspiration for this young rural homeboy from Thailand. One year under AFS programme has helped him with linguistic proficiency, social skills, ideologies, attitude towards life, and most importantly, his inner self.

“Joining the AFS is like a jaw-dropping, eye-opening preparatory class to be the world citizen in the modern world for me. I was deployed with a host family during 1967 to 1968 in a school in Minnesota, USA. The period of one year has given a lot to me and my English, my way of thinking, analysing, reasoning, self-esteem, and self-confidence. With my host family there, I was indirectly taught about the way they think, the way they value things, traditions, cultures, in American society. I brought back home what I thought it would benefit me in the future, learnt the way to live in the world of competition – the world that is gradually shrinking smaller, and all the while the connectivity is shredding away piece by piece of frontiers and boundaries. The success by the name of myself, and by the name of Thailand, was all rooted from that one-year time being under AFS programme.”

“I’d like that my fellow compatriots of the new generation, including their parents, and teachers, perceive not only the importance, but the necessity, to give the support to their children and students in their quests for glory out there in the world where cultural and social context differ from where we live. It’s for their disposal to learn to know, to learn to respect those differences with a level of toleration, and to learn to understand that it’s the right nad the nature of each people and each individual. We must be bound to the idea that we, as the world citizen, must live in peace and harmony. The difference toleration is the challenge of the modern world, as well as the challenge of Thailand. Thailand is a multicultural society where the people are from different ethnicities, culture, traditions, and values. Being a multicultural society should be viewed as possession, as an asset, not a liability which leads to disharmony.”

“This is what I encourage, by going out and learn to understand other things out there. Some things are different, some superior, some inferior. To be able to see things as an AFS student whose age is in the high rate of absorbancy is very important. The age of AFS exchange student is the age of sufficient maturity that can distinguish the goods and the bads, filter and cast them all into our own self, with tolerance and respect towards differences. I think this is the quality that modern Thai people should have.”

“Discipline, creativity, initiativeness, ability to think from other points of view, and ability to express oneself, are what most important to add a touch of livelihood to this society. I’d like to see us all live in the society of exchanging, of respect, of interactions, and with respect in diversity, other people’s rights, while retaining each of their own standpoint and share with all others a mutual societal objective as a community, as a nation. This is what the Thai society is in need of.”

“And I found it all while I was an exchange student in the American Field Service programme.”